วันอาสาฬหบูชา คือวันอะไรและการปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 

ขอขอบคุณความรู้เกี่ยวกับ วันอาสาฬหบูชา จากเว็บ wiki 

คำว่าอาสาฬหบูชานั้นประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘

ข้อมูลจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อธิบายใจความสำคัญของปฐมเทศนา ที่มีหลักธรรมสำคัญอยู่ ๒ ประการ ได้แก่

  1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง

คือการปฏิบัติที่เป็นกลางและถูกต้องเหมาะสม ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป โดยพระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่สุด ๒ ด้านได้แก่

  การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน หรือการดำเนินชีวิตแบบก่อความทุกข์ให้ตนเอง เหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด

  การไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินในกามสุข มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง

 

เพื่อละเว้นการดำเนินชีวิตที่สุดโต่งเหล่านี้ จึงต้องใช้หลักทางสายกลางในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีหลักปฏิบัติ ๘ ประการ ที่เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

. สัมมาวาจา เจรจาชอบ

. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ

. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

. สัมมาวายามะ เพียรชอบ

. สัมมาสติ ระลึกชอบ

. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

  1. อริยสัจ หรือความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งเป็นบุคคลที่ห่างไกลกิเลส ได้แก่

. ทุกข์ หรือความไม่สบายกายไม่สบายใจ

. สมุทัย หรือเหตุให้เกิดทุกข์

. นิโรธ หรือความดับทุกข์

. มรรค หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย

พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน

กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ 

กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาแบ่งเป็นกิจกรรมของพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน โดยพระภิกษุสงฆ์เตรียมจัดกิจกรรมที่วัด รวมถึงแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตามที่พระพุทธเจ้าเคยแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่วนกิจกรรมของชาวพุทธ มีทั้ง ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า, การไปวัดรับศีล งดทำบาป, การถวายสังฆทานหรือให้ทาน, การฟังธรรมเทศนา และการเวียนเทียนรอบอุโบสถในช่วงเย็น

เมื่อวันอาสาฬหบูชาซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญอาสาฬหบูชาเดือน ๘ ของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น ๓ พิธีคือ 

  1. พิธีหลวง (พระราชพิธี)
  2. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
  3. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันอาสาฬหบูชาก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา 

สิ่งของที่นิยมนำมาถวายพระสงฆ์ในวันอาสาฬหบูชามากที่สุด ได้แก่

. อุปกรณ์เครื่องเขียน ได้แก่ สมุด ปากกา ไม้บรรทัด เป็นต้น

. ใบมีดโกน ที่เป็นแบบด้ามเหล็ก

. ผ้าไตรจีวร

. หนังสือที่มีประโยชน์ เช่น หนังสือสวดมนต์ หนังสือที่เกี่ยวกับธรรมะ หนังสือทางวิชาการ และสารคดีที่ให้ความรู้

. รองเท้าแตะ สีดำ รูปแบบตามความเหมาะสม

. ยารักษา โรคที่ใช้กันทั่วไป เช่น ยาแก้ปวด แก้ไข ยาลดกรด เป็นต้น

. ผ้าขนหนูเนื้อดี ขนาดเหมาะสม สีเหลือง

. อุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่น CD

. อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น แปรงขัดพื้น เป็นต้น

๑๐. ยาสระผม (ใช้สำหรับสระหนังศรีษะและตอนโกนผม)

หากท่านในสนใจ ทางธาราญาเรานั้นได้รวมชุดสังฆทานตามการใช้งานและวัตถุประสงค์ในการทำบุญไว้หลากหลายชุด เช่น สังฆทานยา สังฆทานวันเกิด และทางธาราญายังได้ทำการนำชุดผ้าไตร ผ้าไตรจีวร สบง ที่เน้นและคัดสรรเครื่องใช้จำเป็น คุณภาพดีในการครองสมณะเพศตามพระธรรมวินัย นำมาจัดชุดเพื่อเป็น สังฆทานอันประณีต ที่เพียบพร้อม สวยงาม สะอาด สะดวกในการทำบุญของผู้มีศรัทธา

อ่านบทความ ทำบุญ วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาปีนี้ เลือกชุดถวายสังฆทานอย่างไร ธาราญามีข้อแนะนำ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *