ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร | ผ้าไตรอาศัย มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออย่างไร

หลายคนยังสงสัยในการเลือกซื้อ ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย ว่าจะเลือกแบบใด และมีวิธีเลือกอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของขนาดและสี รวมไปถึงความหนาของผ้าไตร บทความนี้จะรวบรวมทั้งความหมาย วิธีเลือกผ้าไตร และ อานิสงส์การถวายสังฆทานผ้าไตร

ผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย คืออะไร

ผ้าไตร / ผ้าไตรอาศัย คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร

 

คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง

ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย

  1. ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์
  2. ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก
  3. สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า

 

ผ้าไตรจีวรโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1.ไตรครอง หรือ ไตรเต็ม (ใช้ตอนบวช) ประกอบด้วย

-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

-สังฆาฏิ : เป็นผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร แต่พระเอามาใช้พาดบ่า

-ผ้ารัดอก : ผ้าที่ใช้รัดอก เวลาพระเอาสังฆาฏิพาดบ่า เพื่อให้ดูกระชับและเรียบร้อย

-รัดประคต : คือเชือกไว้รัดสบง หมีหน้าที่เสมือนข็มขัดของพระ

-ผ้าประเคน : เป็นผ้าที่ใช้รับสิ่งของ

2.ไตรอาศัย(ใช้ในชีวิตประจำวัน) ประกอบด้วย

-จีวร : ผ้าที่ใช้สำหรับห่มคลุม

-สบง : ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งในส่วนล่าง

-อังสะ : เสื้อตัวในลักษณะคล้ายเสื้อกล้าม

ถ้าจุดประสงค์หลักของเราในการซื้อผ้าไตรคือซื้อเพื่อถวายแด่พระภิกษุ เราก็ต้องเลือกไตรอาศัยเพื่อนำไปถวาย

สุดท้ายเราก็ต้องมาดูขนาดของผ้าไตรจีวรว่าขนาดแบบไหนเราถึงจะสวมใส่ได้หรือขนาดไหนที่ภิกษุที่เราจะถวายให้ใส่ได้

การเลือกขนาดของผ้าไตรจีวร

พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 1.9 ม.

พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.0 ม.

พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.1

หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตรจีวรขนาดความสูง 2.0 ม.

เมื่อเรารู้จุดประสงค์ สี ชนิด และขนาด เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถเลือกซื้อผ้าไตรได้อย่างถูกต้อง

(ที่มาข้อมูล จากเว็บ www.chokdees.com/ผ้าไตรจีวร-โชคดีสังฆภัณ/)

อานิสงส์การถวายผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร (บทความเกี่ยวกับ อานิสงส์คืออะไร)

ผู้ถวายผ้าไตรจีวร แด่พระสงฆ์ด้วยจิตบริจาคที่บริสุทธิ์ อานิสงส์จึงบังเกิดเป็นผลบุญมหาศาล ดังนี้

  1. สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ กำจัดกิเลส คือ ความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบาง
  2. ยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจ
  3. พ้นจากความยากจน ความลำบาก ขัดสนในทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัยทั้ง 4
  4. เกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส

ตัวอย่างการเลือกซื้อผ้าไตร

ไตรเต็ม ไตรใหญ่ 7 ชิ้น = จีวร, สบงขัณฑ์, อังสะสไบ, สังฆาฏิ 1 ชั้น, ผ้ากราบ, ผ้ารัดอก, ประคต

ไตรอาศัย ไตรแบ่ง ไตรเล็ก 3 ชิ้น = จีวร, สบงอนุวาต, อังสะสไบ

การเลือกผ้าไตรให้เหมาะกับโอกาสงานบุญ

ไตรเต็ม เหมาะสำหรับงานบุญโอกาสพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญวันเกิด

ไตรอาศัย (สำหรับพระสงฆ์ไว้ผลัดเปลี่ยน) เหมาะสำหรับงานบุญทุกโอกาสไม่จำกัด

ผ้าไตรอาศัย 9 ขัณฑ์ และ 5 ขัณฑ์ นิยมถวายทำบุญอย่างไร

สีแก่นขนุน 9 ขัณฑ์ สามารถถวายทำบุญสายพระป่ากรรมฐานได้ทุกวัด หรือ พระสงฆ์ธรรมยุติ

เช่น วัดอโศการาม วัดป่าดาราภิรมย์ วัดป่ามณีกาญจน์ วัดป่าบ้านตาด วัดแถบอิสาน เป็นต้น

 

ผ้าไตรจีวร ผ้าไตรอาศัย สำหรับถวายสังฆทาน

(คลิก ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่าง ผ้าไตร 9 ขัณฑ์  และ ผ้าไตร 5 ขัณฑ์)

ผ้าไตรอาศัย ผ้ามัสลิน สีแก่นขนุน (9 ขัณฑ์)

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *