สมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ คืออะไร

สมาธิ คืออะไร ใครๆ ก็มีได้ แม้แต่สัตว์เดรฉานก็มีสมาธิ เช่น แมวที่รอดักจับหนู หรือ งูที่นิ่งรอเหยื่อ แต่สมาธิที่ควบคู่กับวิปัสสนากรรมฐาน ในทางพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เดียว คือ ขนทุกข์ออกจากจิตใจของสัตว์โลกไม่มีอย่างอื่น และ มีความสงบ ดังกับคำว่า นัตถิ สันติ ปะรัง สุขขัง คือ สุขเสมอความสงบไม่มี ที่สำคัญ สุขแบบความสงบแบบนี้อธิบายไม่ได้ด้วย ต้องเข้าใจด้วยตัวเอง จึงต้องเร่ิมต้นด้วยการทำสมาธิ

ความหมายของ สมาธิ

แปลตามบาลีแปลว่า ความตั้งใจมั่น

สมาธิในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต

การทำสมาธิในทางพุทธศาสนา เรียกว่าสมถะ

 

สมาธิมีกี่ระดับ

สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1. ขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ

ขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดิน

ขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต ที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอนตามปกติ ก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย

 

2. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

อุปจารสมาธิ  เหมือนเด็กที่เดินได้คล่องและเร่ิมจะวิ่ง

ป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย

 

3. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

หมายถึงหมดความรู้สึกไปชั่วขณะหรือเป็นขณะๆ หรือเป็นวัน ตามกำลังสมาธิและความชำนาญ

 

ประโยชน์ของสมาธิ

นอกจากเรื่องความเชื่อทางศาสนาแล้ว สมาธิยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ช่วยให้จิตใจผ่องใสอ่อนโยน ผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้ดูอ่อนกว่าวัย พัฒนาบุคลิกภาพให้ดูสง่างาม ฯลฯ เนื่องจากการทำสมาธิคือการกำหนดรู้และจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ดังนั้นเมื่อทำสมาธิเสร็จเราจะรู้สึกว่าตัวเองสามารถ จดจ่อกับสิ่งต่างๆ และมีสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

สมาธิกับ สติสัมปชัญญะ

1. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ – mindfulness)
2. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง – clear comprehension)

สมาธิควบคู่กับสมถกรรมฐาน การสร้างสติสัมปชัญญะ โดยทั่วไปก็จะควบคู่ไปกับการดูลมหายใจที่เรียกว่า อานาปานสติ การดูลมหายใจเข้าออก สติ คือ ความรำลึกได้ ว่ามีลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้วก็ใช้สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) คือ ลมนั้นมีสภาพเข้าออกสั้นหรือยาว สุดไปถึงไหน  แล้วทำไปเรื่อยๆ

แล้วเราก็จะเริ่มเข้าใจว่าเรา อยู่ในสมาธิระดับไหน เช่น ถ้าเรานั่นสมาธิด้วยลมหายใจ แล้วรู้ลมตาม มีความเห็นชัดในความนิ่งไม่คิดอะไร พอนั่งไปสักพักห้าถึงสิบนาที ก็จะเริ่มมีความคิดโ่น่นนี่เข้ามา แล้วเราก็เผลอตามความคิดไป แต่ก็ดึงกลับมารู้ตัวเร็ว  แสดงว่าเราก็มีกำลังสมาธิใน ขณิกสมาธิ ซึ่งถือได้ว่า จัดเป็นสมาธิเริ่มต้น ขอให้ฝึกไปเรื่อย ๆ

 

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *