การทอด ผ้าป่า จัดเป็นการทำบุญที่นิยมกันมากในปัจจุบัน โดยมีชื่อเรียกตามลักษณะการรวมกันของเครื่องบริวาร หรือตามวัตถุประสงค์ของการทำบุญที่เกี่ยวกับงานที่จัดขึ้น วิธีการทอดผ้าป่านั้นไม่จำเป็นต้องนำผ้าไปวางทิ้งหรือทอดไว้ในป่าอีกเพราะขยายจากการทอดผ้า เป็นเงินหรือสิ่งของที่บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์โดยปรับเปลี่ยนให้เข้าตามยุคตามสมัยสังคม ถือตามความสะดวกของสาธุชนผู้มาร่วมประกอบพิธี ซึ่งถือว่าได้อุปโลกน์เป็นผ้าป่าไปแล้ว
ในปัจจุบันประเภทของผ้าป่ามีชื่อเรียก 3 อย่าง คือ
1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน หรือเรียก ผ้าป่าแถมกฐิน
2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่ามราจัดทำรวมๆ กันหลายๆ กอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอด ตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
3. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาม สถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด บางที่ก็มีจุดประสงค์เพื่อหาเงินไปสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น
เจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์ที่จะทอดผ้าป่ากับทางเจ้าอาวาส เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า และทำกากำหนดเวลา จากนั้นก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งที่การทอดผ้าป่าต้องมี คือ ผ้า กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า ให้อุทิศถวาย ไม่เจาะจงพระรูปใด รูปหนึ่ง
เจ้าภาพต้องจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง 3 อย่าง แล้วแต่ศรัทธา จากนั้นให้นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะที่มีขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะนำไปถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบน้ำฝน สมุด ดินสอ เป็นต้น ในส่วนของปัจจัย (เงิน) นิยมนำไปเสียบไว้กับต้นกล้วยที่มีขนาดเล็กในกองผ้าป่า
ในปัจจุบันการทอดผ้าป่านับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่า เพื่อแจ้งให้ทางวัดทราบกำหนดการต่างๆ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนด ก็จะมีการแห่องค์ผ้าป่ามาเป็นกลองยาว แตวง อย่างครึกครื้น สนุกสนาน บ้างก็อาจจะมีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องเพลง รำวงกัน
ความเป็นมาของพิธีทอดผ้าป่ากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ เป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล้กน้อยพอแก่ความต้องการแล้วจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อมสี เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง
การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างลำบากยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ภิกษุทั้งหลายจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันอย่างมาก เมื่อชาวบ้านทั้งหลายเห้นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ จึงต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาติโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้วคือ ไม่ต้องการ ก็จำนำผ้านั้นมาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าป่าจึงมีขึ้นด้วยสาเหตุนี้
การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมา แต่ในปัจจุบันนิยมทำกันในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ 1.ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน 2.ผ้าป่าโยง 3.ผ้าป่าสามัคคี ซึ่งในแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้
เหมาะสำหรับ งานมงคลพิเศษ อาทิ งานบวชพระ ทำบุญบ้าน ทำบุญวันเกิด ทำบุญเพื่อบรรพบุรุษหรือญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
ชุดผ้าไตรจีวร ตัดเย็บประณีต ฝีเข็มคู่ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย พร้อมดอกบัวขาว
เจตจำนงค์แห่งบุญ: ด้วยกรรมที่สร้างมาทำให้ทุกกาย ทุกใจ ปัญหารุมเร้า จึงอยากตัดขาดจากเวรกรรม (อโหสิกรรม)
เหมาะสำหรับทำบุญวันเกิด หรืองานบุญทั่วไป สามารถเลือกสีเทียน & ริบบิ้น ตามสีของกำลังวันเกิด