ตัดกรรม

ตัดกรรม คืออะไร หลักคำสอนพระพุทธศานา ตัดกรรมได้อย่างไร

หลักคำสอนพระพุทธศานาในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนให้คนทำบุญแล้วกรรมที่เคยทำน้ันจะหาย หรือ ไปทำพิธีตัดกรรมใด ๆ แล้วจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มาจากการทำพิธีนั้น ๆ  แต่จุดมุ่งหมายของศาสนาพุทธ คือ การให้เข้าถึงปัญญาของการหลุดพ้น และ เห็นการเป็นไปของ ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขนทุกข์ออกจากใจของสัตว์โลก เมื่อปฏิบัติตามคำสั่งสอนแล้ว จะทำให้เกิดปัญญา เห็นการตัดกรรมที่แท้จริงในคำสั่งสอน คำสอนที่เป็นหลัก คือ องค์มรรค8 หรือ ที่เราเรียกกัน บ่อย ๆ ว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ตัดกรรม ตามหลักคำสอนพระพุทธศานา ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา (องค์มรรค 8) แต่การเริ่มต้นนั้นมักจะมาจากการ ทำบุญ ทำทาน เพื่อละความโลก  เช่น การถวายสังฆทาน การทำบุญวันเกิด ถวายผ้าไตร ใส่บาตร ข้อปฏิบัติการทำบุญ ที่สำคัญ ได้แก่ บุญกิริยา 10 อย่าง บุญกิริยาวัตถุ 10 … Read more

ผ้าไตรจีวร

ถวายผ้าไตรจีวรพระที่ใช้ในประเทศไทยมีกี่แบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าผ้าไตรจีวรพระในประเทศไทยนั้นมีกี่ประเภท และ หลายท่านยังสงสัยว่าพระแต่ละวัดนั้นใส่ สีผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวรพระ ไม่เหมือนกัน ซึ่งในบทความนี้จะมาทำความเข้าในเรื่องของ ประเภทจีวร รวมถึง การเลือกซื้อถวาย เป็นสังฆทาน หรือ ทำบุญในเรื่องงานบุญ สำคัญ ๆ ผ้าไตรจีวรพระคืออะไร   ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร   ความรู้เกี่ยวกับ ผ้าไตร คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ? คลิกอ่าน เหตุใดผ้าไตรจีวรพระทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรง ๆ จะหมายถึง ผ้าสามผืน ดังนั้นสรุปคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง … Read more

ผ้าไตรอาศัย

ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร | ผ้าไตรอาศัย มีเคล็ดลับในการเลือกซื้ออย่างไร

หลายคนยังสงสัยในการเลือกซื้อ ผ้าไตร หรือ ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย ว่าจะเลือกแบบใด และมีวิธีเลือกอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของขนาดและสี รวมไปถึงความหนาของผ้าไตร บทความนี้จะรวบรวมทั้งความหมาย วิธีเลือกผ้าไตร และ อานิสงส์การถวายสังฆทานผ้าไตร ผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตรอาศัย คืออะไร ผ้าไตร / ผ้าไตรอาศัย คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร   คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก … Read more

ทำบุญ

 ทำบุญ คืออะไร และ อานิสงส์ คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ธาราญามีคำตอบ

ทำบุญ หมายถึงอะไร ทำบุญ หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ ในงานมงคลหรือ อวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ ๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม ๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ ๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง … Read more

ผ้าไตร

ผ้าไตรหรือผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ 9 ขันธ์ ต่างกันอย่างไร และเลือก ผ้าไตร สิ่งของสำหรับงานบวชอย่างไร

ผ้าไตรจีวร / ผ้าไตร สำหรับเตรียมตัวจัดงานบวชน้ัน หลายท่านจะมีความสับสนการเลือกและไม่เข้าใจว่า ทำไมบางครั้งที่ร้านขายผ้าไตรจะถามเราว่า เอาแบบ 5 ขันธ์หรือ 9 ขันธ์ บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกผ้าไตรสำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อผ้าไตรสำหรับเตรียมในงานบวชให้กับลูกหลาน หรือ จัดหาเพื่อถวายผ้าไตรแด่พระภิกษุ ผ้าไตร / ผ้าไตรจีวร คืออะไร ผ้าไตร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งครอง หรือผ้าเหลืองที่เราเห็นพระสงฆ์นุ่งห่มนั่นเอง บางครั้งชาวบ้านก็จะเรียกผ้าที่พระครองว่า ผ้าไตรจีวรหรือผ้าจีวร แต่ทำไมถึงเรียกว่าผ้าไตร คำว่า ไตร หมายถึง ไตรที่แปลว่า สาม ดังนั้นในความหมายของผ้าไตรในการแปลแบบตรงไปตรงมา ก็จะหมายถึง ผ้าสามผืนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึงผ้าไตร ก็จะเข้าใจตรงกันในความหมายเดียวกันคือ ผ้าสามผืนที่พระสงฆ์ใช้สำหรับนุ่งครอง ซึ่งในผ้าไตร 3 ผืน ก็จะประกอบไปด้วย ผ้าจีวร หรือ ผ้าห่ม ซึ่งพระสงฆ์จะเรียกว่า อุตราสงค์ ผ้าสบง หรือ ผ้านุ่ง ซึ่งพระสงฆ์เรียกว่า อันตรวาสก สังฆาฏิ หรือ ผ้าซ้อน/ผ้าพาดบ่า ผ้าไตร ส่วนใหญ่มักนิยมเรียกย่อๆ ว่า … Read more

สังฆทานชุดอโรคาปรมาลาภา

ความเป็นมาของการ ทำบุญวันเกิด

การ ทำบุญวันเกิด นั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างเมื่อครั้งยังทรงผนวช ไม่ใช่ทำอย่างจีนหรือฝรั่ง โดยมีพระราชดำริว่า “การที่คนเรามีอายุวนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง โดยไม่ตายไปเสียก่อน ถือเป็นลาภอันประเสริฐ จึงควรยินดี บำเพ็ญกุศลและ ทำบุญวันเกิด ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ให้สมกับที่มีน้ำใจยินดี และไม่ประมาท เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าจะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ถึงวันเกิดปีหนึ่งเป็นที่เตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปต่อความตายอีกก้าวหนึ่ง เมื่อรู้เช่นนั้น จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวิตเสียได้“ จึงทำให้เกิดการ ทำบุญวันเกิด ขึ้นเรียกว่า เฉลิมพระชนมพรรษา ขึ้น โดยมีการสวดมนต์เลี้ยงพระจำนวน 10 รูป และถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์ เป็นการทำแบบเงียบๆ ต่อมาก็มีเจ้านาย ขุนนางทำบุญวันเกิดกันชุกชุมขึ้น และสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แนะนำเสริมดวงวันเกิด ด้วยชุดกำลังวัน เสริมดวงเกิด นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในสมัยพุทธกาลด้วยว่า สมัยนั้นมีสามีภรรยาพาลูกน้อยไปหาพราหมณ์ แต่พราหมณ์ทักว่าเด็กน้อยจะเสียชีวิตภายใน 7 วัน และแนะนำให้ทั้งสองคนพาลูกน้อยไปหาพระพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้ออกอุบายนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตร ตลอด 7 วันอันตราย เมื่อถึงเวลาที่ภัยจะมาทำร้ายก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากเด็กน้อยนอนฟังสวดพระปริตรอยู่ และด้วยพุทธานุภาพ ทำให้เด็กคนนั้นมีอายุยืนยาวถึง 120 … Read more

กฐิน

กฐิน และ ผ้าป่า คืออะไร ? และมีอานิสงส์เสริมดวงชีวิตอย่างไร

กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด1 ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท   กฐินคืออะไร กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ “กรอบไม้” หรือ “ไม้แบบ” สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ) อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้ กฐินเป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น กฐินเป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ) กฐินเป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน กฐินเป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์ กฐินมีที่มาอย่างไร กฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง … Read more

ทำบุญ

ถวายสังฆทานและทำบุญ ให้ผู้ล่วงลับต้องมีอะไรบ้าง ธาราญามีคำตอบ

ความตายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้นได้เลย จะต่างกันก็เพียงแต่จะช้าหรือจะเร็วเท่านั้นเอง การเตรียมงาน ทำบุญ ดำเนินการเกี่ยวกับ พิธีศพ ตามลัทธิประเพณีนิยม เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ตายและเป็นการไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว งานศพ ซึ่งในแต่ละพิธีการจะมีข้อปฏิบัติและสิ่งของที่ควรจัดเตรียมในงานศพ ดังนี้ การจัดงานศพและ ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?  พิธีรดน้ำศพ เริ่มต้นหลังจากนำศพใส่โลงเรียบร้อยแล้ว เป็นพิธีที่ทำเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับ โดยเจ้าภาพมักจะเชิญคนสนิท ญาติ หรือคนที่รู้จักไปร่วมพิธีรดน้ำศพ โดยทำการเคารพศพ และเทน้ำอบที่ได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือ และอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พิธีสวดอภิธรรม  เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล และระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการนิมนต์พระ จำนวน 4 รูป เพื่อมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ซึ่งโดยปกติแล้วในงานสวดอภิธรรมมักจะนิยมสวด 1 คืน 3 คืน 5 คืน และ 7 คืน ในส่วนนี้เองเจ้าภาพต้องมีการจัดเตรียม “สังฆทานงานศพ” หรือเครื่องไทยธรรม และสบง จำนวน 4 ชุด เพื่อทำบุญถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุล(คลิกอ่านความหมาย)ให้กับผู้เสียชีวิตในแต่ละคืน พร้อมปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่กำลังศรัทธา … Read more

ทำบุญออนไลน์

ทำบุญออนไลน์ได้บุญอย่างไร ธาราญามีคำตอบและแนะนำเว็บทำบุญออนไลน์

หลายคนสงสัยกันว่าทำบุญออนไลน์ได้บุญไหม ได้ผลจริงหรือเปล่า? แม้ว่าเราจะไม่ได้ไปถึงวัด ไม่ได้จุดธูปไหว้พระ ฟังธรรม ไม่ได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สงบร่มเย็นเหมือนอย่างที่คุ้นเคยกันมา แต่บอกเลยว่าได้บุญไม่ต่างกันแน่นอน เพราะศาสนาทุกศาสนาสอนไม่ให้เรายึดติด อะไรที่ไม่ทำให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน บอกเลยว่าดีทั้งนั้น และหัวใจสำคัญของการทำบุญคือ ลด ละ เลิก จากกิเลสทั้งปวง เพราะจริง ๆ แล้วการทำบุญ เราสามารถทำได้ทุกรูปแบบ ไม่จำกัดเพียงแค่การถวายเงิน หรือสิ่งของเท่านั้น อย่างเช่น การทำความดี คิดดี พูดดี ก็คือการทำบุญอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญคือขอเพียงแค่ใจเรามีความสุจริตเป็นที่ตั้ง และจิตอันเป็นกุศล ไม่ว่าจะทำบุญรูปแบบไหน แค่เราพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ ล้วนแต่เกิดเป็นผลบุญทั้งนั้น แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่มองว่าการทำบุญออนไลน์มีความเสี่ยง ไม่มั่นใจว่าเงินของเราจะถูกนำไปใช้ตามเป้าหมายจริง ๆ กลัวว่าจะถูกหลอกเอาได้ ก็ต้องบอกว่าปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบช่องทางที่เราจะทำบุญได้แล้ว หรือถ้าไม่มั่นใจก็เลือกทำบุญออนไลน์ กับหน่วยงานที่มีความชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ เช่น ทำบุญออนไลน์โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคให้มูลนิธิ บริจาค e-Donation ผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เรียกได้ว่าการทำบุญออนไลน์เป็นทางเลือกที่เข้ากับยุคสมัยและเหมาะสถานการณ์จริง ๆ ปัจจจุบันการทำบุญสามารถทำได้มากมายหลายแบบ ส่วนจะเป็นบุญหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1.ก่อนทำบุญควรคิดถึงแต่สิ่งดีๆไม่ฟุ้งซ่าน … Read more

การสะเดาะเคราะห์ การแก้กรรม

การสะเดาะเคราะห์ การแก้กรรม มีจริงหรือไม่ ตอนที่ 3 (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

การสะเดาะเคราะห์ การแก้กรรม มีจริงหรือไม่ ตอนที่ 3 (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ประการที่สอง ต่อนี้ไปจะให้ญาติโยมทั้งหลายรับศีล การสมาทานศีลมีอานิสงส์ ๓ อย่างคือ ความหมายของการรับศีล (การแก้กรรม การสะเดาะเคราะห์ ตอนที่ 3) ๑. สีเลนะ สุคะติง ยันติ คนที่มีศีลอยู่แล้ว เวลามีชีวิตอยู่ก็มีความเป็นปกติสุข ตายจาดความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้ามีความสุข   ๒. สีเลนะ โภคะสัมปะทา ในขณะที่มีชีวิตอยู่เรามีศีลบริสุทธิ ทรัพย์สินก็ไม่เปลืองก็มีการเป็นอยู่ดีในการครองทรัพย์สิน ตายไปก็ร่พรวยมาก   ๓. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ คนที่รักษาศีลได้ดี จะไปนิพพานได้โดยง่าย   นี่คือ “อานิสงส์ของศีล” หลังจากนั้นไปจะให้ญาติโยมพุทธบริษัท เจริญวิปัสสนา คือ “เจริญกรรมฐาน” ใช้กำลังพุทธานุสติกรรมฐานเป็นกำลัง นี่เป็นบุญใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา บุญในพระพุทธศาสนามี ๓ ชั้น คือ ทาน ศีล ภาวนา   … Read more